ความเป็นมาของขนมจีน แล้วทำไมคนถึงต้องเรียกว่าขนมจีน ทั้งที่เป็นอาหารไทย

ความเป็นมาของขนมจีน

ความเป็นมาของขนมจีน ที่หลายคนอาจจะสงสัย ทำไมอาหารไทยอย่าง “ขนมจีน” ต้องมีชื่อเรียกแบบนั้น ทั้งที่ประเทศจีน ไม่มีอาหารชนิดนี้ด้วยซ้ำ แน่นอนเรามีคำตอบให้ แม้ว่าเจ้าขนมจีน จะมีชื่อขึ้นหน้าว่า ขนม แต่ไม่ได้เป็นของหวาน กลับเป็นอาหารคาวที่มีรสชาติเผ็ดร้อน และเป็นที่นิยมอย่างมากของคนไทย โดยเฉพาะทางภาคอีสาน ที่นำมาทานร่วมกับส้มตำอย่างเข้ากันเป็นที่สุด หรือบางคนอาจจะนำไปกินกับน้ำปลาเปล่าๆก็ดันอร่อยเฉยเลย

ความเป็นมาของขนมจีน

ความเป็นมาของขนมจีน อาหารคาวที่มีรสชาติเผ็ดร้อน และเป็นที่นิยมอย่างมากของคนไทย

กลับมาสู่ช่วงสาระมีอยู่จริงกันต่อ “ขนมจีน” จริงๆตอนแรก ไม่ได้ชื่อนี้มาตั้งแต่เกิดหรอกนะ ซึ่งเจ้าเส้นขาวๆเนี่ย เป็นอาหารขึ้นชื่อของชาวมอญ และพวกเขาก็เรียกมันว่า “คนอมจีน” ตามภาษาบ้านเขา ซึ่งไอ้คำว่า คนอม ตามภาษามอญแปลว่า การจับเป็นกลุ่มเป็นก้อน ส่วนคำว่า จิน แปลว่า การทำให้สุกจากการต้ม

ขนมจีน

ซึ่งเมื่อแปลรวมกันคือ การทำให้กลุ่มก้อนสุกโดยการหุงต้ม ยัง ยัง ยังไม่เกี่ยวกับคำว่าขนมจีน เรื่องจริงก็คือ ด้วยความที่ว่าชาวมอญ ชอบทานเจ้าคนอมจิน เป็นอย่างมาก พอไปอยู่เมืองไหนก็พาสูตรเจ้าสิ่งนี้ตามไปด้วย จนกลายเป็นที่นิยมของหลายประเทศ รวมไปถึงชาวสยามบ้านเรา พอเรียกกันไป เรียกกันมา สุดท้ายก็กลายมาเป็นคำไทย แต่ไม่แท้อย่าง “ขนมจีน” แบบนี้นี่เอง

ที่มาของขนมจีน

และแน่นอนแต่ละภาคของประเทศไทย ก็มือชื่อเรียกขนมจีน ที่แตกต่างกันออกไปอีก โดยทางภาคอีสานแท้ๆ จะเรียกว่า “ข้าวปุ้น” ส่วนทางเหนือเรียกว่า ข้าวปุ้นเจ้า เอ๊ยไม่ใช่ เรียกว่าขนมจีนเจ้า เอ๊ยยังไม่ใช่ เรียกว่า “ขนมเส้น” เอ๊ยถูกแล้ว แต่ไม่ว่า คนอมจิน ขนมจีน ข้าวปุ้น หรือ ขนมเส้น จะมีชื่อเรียกยังไงตามความถนัดของแต่ละพื้นที่ แต่เจ้าเส้นขาวๆนี้ กลายเป็นอาหารชนิดต้นๆ ที่คนไทยนิยมรับประทานเป็นอย่างมาก  และทานได้ทุกเพศทุกวัยอีกด้วย

อยากรู้ข้อมูลเกี่ยวกับอาหาร ลองเข้ามาชมในเว็บ บล๊อคเว็บรวบรวมข้อมูลอาหาร ของเราคุณจะได้รู้ทุกเรื่องของอาหาร และ ขนมโตเกียว ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก รสชาติอร่อย แถมราคายังถูกอีกด้วย