กล้วยทอด ถึงทำไมต้องเรียกว่า กล้วยแขก? ซึ่งวันนี้เรามีคำตอบมาฝากกัน

กล้วยทอด

กล้วยทอด หรือ กล้วยแขก อาหารว่างที่เป็นที่นิยมของใครหลายๆคน  ซึ่งแน่นอนที่ประเทศอินเดีย หรือประเทศแถยนั้น ไม่มีชาติใดรู้จักหรือทำอาหารชนิดนี้มาก่อน แล้วทำไมพี่ไทยถึงเรียกเจ้าสิ่งนี้ว่า กล้วยแขก ละครับนายจ๋า บังขอคำอธิบายที

กล้วยทอด

ประวัติความเป็นมาของ กล้วยทอด แล้วทำไมประชาชนคนไทยถึงเรียกเจ้าสิ่งนี้ว่า กล้วยแขก

มา… เข้าสู่ช่วงสาระมีอยู่จริงกันเลย กล้วยทอดเกิดขึ้นในสยามประเทศครั้งแรก ในสมัยกรุงศรีอยุธยาศรีรามเทพนคร เป็นราชธานี ซึ่งชาวอิสลาม หรือที่บ้านเราเรียกเขาว่าแขก เป็นศาสตราจารย์เกี่ยวกับอาหารประเภททอดทุกชนิด และในช่วงนั้นสยามประเทศยังไม่เคยทำอาหารชนิดใดให้สุก และสามารถกินได้จากการทอดมาก่อนเลย พอมีคนทำสูตรเอาแป้งมาผสมกับน้ำ และใส่เครื่องเทศลงไป และนำกล้วยของไทยไปชุบและนำไปทอด จึงเรียกว่า กล้วยแขก เพราะการทำอาหารให้สุกจากการทอด มาจากคนอิสลาม หรือบ้านเราเรียกเขาว่า แขก นั่นเอง

กล้วยแขก

นอกจากนั้นแล้ว เจ้ากล้วยทอด ยังเป็นอาหารขึ้นชื่อของชาวมลายู ที่นำเอากล้วยทั้งลูกมาทอด แล้วนำขึ้นมาชุบแป้ง จากนั้นตามสูตรก็คือนำกลับไปทอดซ้ำอีกครั้ง โดยเรียกว่า ปีซัง โกเร็ง ได้รับความนิยมอย่างมากจากคนในประเทศ มาเลเซีย อินโดนิเซีย และ สิงคโปร์ ซึ่งว่ากันว่า เจ้ากล้วยทอดในประเทศข้างต้นเกิดจากการนำเข้ามาของประเทศโปรตุเกส ช่วงปี ค.ศ 1511

ความเป็นมาของกล้วยแขก

ส่วนเจ้ากล้วยแขก ของบ้านเรา แม้นจะรู้ว่าเกิดขึ้นในสมัยอโยธยา แต่ยังไม่แน่ใจว่าใครเป็นคนนำสูตรเข้ามาเป็นที่แน่ชัด เพราะในช่วงนั้นสยามประเทศนิยมทำกล้วยให้สุกด้วยการต้ม การปิ้ง และการย่างตามแบบฉบับของคนสยามประเทศ ซึ่งข้อมูลจากบางที่ก็บอกว่า ชาวอินเดีย เป็นคนนำเข้ามา เพราะชาวอินเดีย มีความถนัดในการทำอาหารให้สุกโดยการทอด ไม่ว่าอะไรก็ทอดหมด บางข้อมูลก็บอกว่าเป็นการนำเข้าของคนโปรตุเกส ที่ชอบทานเป็นอาหารเช้า ในช่วงที่เข้ามาอยู่ในสยามประเทศ

อยากรู้ข้อมูลเกี่ยวกับอาหาร ลองเข้ามาชมในเว็บ บล๊อคเว็บรวบรวมข้อมูลอาหาร ของเราคุณจะได้รู้ทุกเรื่องของอาหาร และ น้ำขิง เคล็ดที่ไม่ลับสำหรับเมนูป้องกันโควิด ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย