สำหรับคนที่ใส่บาตรในตอนเช้าเป็นประจำ เคยคิดสงสัยบ้างไหมว่า อาหารที่นำมาใส่บาตรพระ นั้นมีข้อห้ามบ้างหรือไม่ หรือว่ามีประเด็นไหนที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษบ้างหรือเปล่า ถ้าว่ากันตามจริงก็คือเราสะดวกใจอย่างไรก็ใส่อย่างนั้นได้ ไม่ว่ามากหรือน้อย เป็นอาหารเลิศหรูหรือข้าวเหนียวปั้นเดียว ก็ได้บุญทัดเทียมกันหากมีจิตใจแน่วแน่และบริสุทธิ์ แต่วันนี้เราอยากจะมานำเสนอมุมมองเล็กๆ ที่สามารถเอาไว้เป็นตัวเลือกในการใส่บาตรครั้งต่อไปได้
อาหารที่นำมาใส่บาตรพระ สิ่งที่เราควรรู้ก่อนนำไปถวายให้กับพระ
เรื่องแรกคือการใส่บาตรกับพระวัดป่าที่ฉันอาหารเพียงมื้อเดียว มันจะมีมื้อเล็กๆ ช่วงบ่ายที่เรียกว่า “ปานะ” อยู่ เป็นมื้อที่ทานอาหารบางประเภทได้ ถ้าเราจะเลือกอาหารที่นำมาใส่บาตรพระแล้วหวังให้ท่านได้แบ่งบางส่วนไว้สำหรับช่วงบ่ายนั้น จะต้องงดอาหารที่ต้องขบเคี้ยวทั้งหมด รวมถึงเครื่องดื่มในกลุ่มของนมด้วย ให้เลือกเป็นน้ำที่พออยู่ท้องแทน เช่น น้ำผลไม้ไร้กาก เป็นต้น
หากไม่ใช่ประเพณีท้องถิ่นหรืองานพิธีกรรมในวันสำคัญต่างๆ แต่เป็นการใส่บาตรในยามเช้าตามปกติ บรรดาข้าวสารอาหารแห้งก็ไม่ควรเลือกเป็นอาหารที่นำมาใส่บาตรพระเช่นเดียวกัน เนื่องจากพระที่เคร่งครัดมากๆ จะไม่สามารถทำครัวหรือปรุงอาหารทานเองได้ ของเหล่านั้นส่วนใหญ่ก็จะไปกองรวมที่โรงครัว แล้วให้แม่ครัวนำไปจัดการต่อ หรือแจกจ่ายให้กับคนที่มาช่วยงานวัดไป ซึ่งถ้าทางวัดไม่มีคนทำครัวก็จะกลายเป็นภาระให้กับพระเสียอีก วิธีทำอาหาร กรณีนี้ถ้าต้องการถวายเป็นเสบียง แนะนำว่าจัดเป็นชุดสังฆทานแล้วยกไปที่วัดเลยดีกว่า
อีกประเด็นหนึ่งก็คือการเลือกเมนูพิสดารมาเป็นอาหารที่นำมาใส่บาตรพระ บางคนคิดว่าตัวเองชอบ เว็บแทงบอล และมันเป็นเมนูที่อร่อยมาก ก็อยากจะถวายของดีให้พระได้ลองฉัน แต่ของบางอย่างพระก็จะทำได้แค่รับไว้เท่านั้น ไม่อาจฉันได้ด้วยว่าผิดพระวินัย หรือบางอย่างก็ไม่เหมาะสมกับการวางตัวของภิกษุ เมนู ไก่นึ่งมะนาว อาหารเพื่อสุขภาพ หากในวัดไม่มีใครอื่นอีก เช่น เด็กวัดหรือคนครัว อาหารเหล่านั้นก็อาจจะต้องทิ้งไปอย่างน่าเสียดาย